การทำงานวิจัยหลายท่านมีปัญหา คือ ไม่รู้ว่ากระบวนการคิดที่ถูกต้องจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ถึง 100% ได้อย่างไร เพราะนักวิจัยมือใหม่แต่ละท่านนั้นขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการศึกษาการทำงานวิจัยมาก่อน
เกิดจากการขาดการอันดับกระบวนการการทำงานวิจัยอย่างถูกต้อง ในบทความนี้ทางเรามีประสบการณ์ 3 เทคนิคสั้นๆ ที่จะทำให้ท่านประหยัดระยะเวลาในการทำวิจัยได้เป็นอย่างดี
เทคนิคที่ 1 เขียนร่างหัวข้อแต่ละบทครบทั้ง 5 บท
งานวิจัยแต่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่แล้วจะมีการกำหนดรูปแบบการวิจัยออกมาเป็น 5 บทตามมาตรฐานทั่วไป หากท่านสามารถเขียนกำหนดตามแบบฟอร์มไว้ก่อน ว่าแต่ละบทท่านจะมีการศึกษาหัวข้อวิจัย และรายละเอียดในขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไรบ้าง
เมื่อท่านทราบหัวข้อเรื่องงานวิจัยของท่านได้อย่างชัดเจนแล้ว ให้ท่านเริ่มเขียนตั้งแต่ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เขียนเพียงคร่าวๆ
จากนั้นทำการกำหนดเนื้อหาทฤษฎีบทที่ 2 จะต้องใช้อะไรบ้าง กำหนดบทที่ 3 ว่า มีกลุ่มตัวอย่างใดบ้าง จำนวนเท่าไร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคืออะไร ตลอดจนบทที่ 4 คือ การนำเสนอเนื้อหาให้ตรงต่อวัตถุประสงค์การวิจัย และบทที่ 5 แน่นอนว่าเป็นกำหนดข้อตายตัว คือ สรุป อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
เมื่อท่านสามารถกำหนดลงรายละเอียดครบทั้ง 5 บท ตามวัตถุประสงค์การวิจัยหรือตามหัวข้อวิจัยของท่านเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ทราบเนื้อหาเบื้องต้นว่าจะต้องใช้ระยะเวลาแต่ละบท ศึกษาประเด็นไหน และใช้แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับอะไรได้อย่างชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การทำวิจัยที่ท่านตั้งไว้
หากท่านลงเนื้อหาได้ครบทุกหัวข้อ ทุกบทตามที่ท่านร่างไว้แล้ว จะทำให้ท่านรู้ว่าท่านจะต้องมุ่งหน้าการทำ IS หรือ การทำวิจัยของท่านไปในทิศทางใด
เทคนิคที่ 2 ขอตัวอย่างเล่มวิจัยที่ใกล้เคียงที่สุดเพียงหนึ่งเล่ม
งานวิจัยที่ใกล้เคียงที่สุดจะนำผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงมาสู่ท่าน หากท่านสามารถนำงานวิจัยที่ใกล้เคียงที่สุดหนึ่งเล่มไปนำเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยของท่านในการที่จะให้คำแนะนำ ว่าเนื้อหาวิจัยส่วนใดของงานวิจัยเล่มงานวิจัยดังกล่าวสามารถนำเนื้อหาส่วนไหนมาใช้ในงานวิจัยของท่านได้ เพื่อที่จะประหยัดระยะเวลา
เนื่องจากในศึกษางานวิจัยจะต้องมีการอ้างอิงสนับสนุนจากแนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกับงานวิจัยเล่มที่ท่านศึกษา โดยเฉพาะการนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษา
ดังนั้นหากท่านสามารถค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใกล้เคียงที่สุดได้เพียงหนึ่งเล่ม จะทำให้ท่านประหยัดระยะเวลาในการทำงานวิจัยได้เร็วขึ้น
เทคนิคที่ 3 อย่าทำสิ่งที่ไม่ถนัดในการตอบคำถาม
หลายครั้งที่ผู้วิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่จะเลือกในสิ่งที่ตนเองไม่มีความถนัด หรือความเข้าใจมากนัก โดยเฉพาะการเลือกใช้สถิติที่เกี่ยวข้องหรือสถิติที่ตนเองไม่ถนัด และทำตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยที่อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ทราบถึงความถนัดของตัวผู้วิจัย จึงทำให้อาจารย์ที่ปรึกษามักจะคิดว่าตัวผู้วิจัยนั้น มีความรู้ความสามารถในการทำสถิติที่ทางอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำได้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านจะแจ้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยของท่านทราบตั้งแต่เริ่มทำงานวิจัยว่า ตนเองมีความถนัด หรือมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานวิจัยแบบใด มีความรู้ในการใช้สถิติแบบใด จะทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยสามารถแนะนำ ปรับจูนการทำงานวิจัยของท่านได้อย่างตรงประเด็น และสอดคล้องกับความถนัดของผู้จัยได้ดีที่สุด
แล้ว หากท่านเลือกทำสิ่งที่ตนเองถนัดก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสามารถช่วยให้ท่านประหยัดระยะเวลา ประสบความสำเร็จในการทำวิจัยได้ และได้รับงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ดังนั้น หากท่านต้องการผลลัพธ์ในการทำงานวิจัยที่ดี ลองปรับเปลี่ยนวางแผนการทำงานใหม่ โดยทำการเขียนร่างหัวข้อแต่ละบทครบทั้ง 5 บท หาตัวอย่างเล่มวิจัยที่ใกล้เคียงที่สุด และทำในสิ่งที่ตนเองถนัด จะช่วยให้การเริ่มทำงานวิจัยจาก 1% สำเร็จได้ 100% ไม่ยาก
หากมีข้อคำถามหรือสงสัยเกี่ยวกับการทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ งานดุษฎีนิพนธ์หรืองานวิจัยต่างๆ ทางเรายินดีให้คำปรึกษาพร้อมไขข้อสงสัย โดยสามารถส่งรายละเอียดเข้ามาได้ที่อีเมล ichalermlarp@gmail.com หรือแอดไลน์ @impressedu
